CIT Academy 2022โครงการ CIT Academy มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีการประกันภัย การสร้างนวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมประกันภัย รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายสมาชิกของ
ศูนย์ CIT ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนิสิต/นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา บุคคลทั่วไป บุคลากรในวงการประกันภัย รวมถึง Tech Firm ตลอดจน Startup ต่างๆ |
กิจกรรมภายในโครงการ
CIT InsurTech Roadshow
|
CIT InsurTech Roadshow เป็นกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ด้านประกันภัย และความรู้ด้านการนำเทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการต่างๆ ใน Insurance Value Chain โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน นิสิต/นักศึกษา บุคลากรในวงการประกันภัย บุคลากรในบริษัทเทคโนโลยี (Tech Firm) กลุ่มนักพัฒนาเทคโนโลยี (Tech Startup) และประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจด้านเทคโนโลยีการประกันภัย นอกจากนี้ กิจกรรมยังประกอบไปด้วยการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อแนะนำศูนย์ CIT (Center of InsurTech, Thailand) และเชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมาย เกิดความสนใจและสมัครเข้าร่วมการประกวดชิงรางวัลนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการประกันภัย (OIC InsurTech Award) |
InsurTech Bootcamp
|
กิจกรรม InsurTech Bootcamp เป็นการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในลักษณะ Activities-Based Learning เพื่อให้ผู้ที่สมัครเข้าร่วมการประกวด OIC InsurTech Award ซึ่งผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการฯ ได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาพัฒนาต่อยอดกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย นอกจากนี้ ภายในงานสัมมนายังมีกิจกรรม Intensive Coaching จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้คำปรึกษาแบบใกล้ชิด เพื่อพัฒนาผลงานให้ตอบโจทย์ และกิจกรรม Online Bootcamp Courses ที่เปิดโอกาสให้ทีมผู้สมัครได้เรียนหลักสูตรออนไลน์ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้นอกจากจะช่วยบ่มเพาะทักษะการพัฒนานวัตกรรมแล้ว ยังช่วยให้เกิดการกระจายองค์ความรู้ด้าน InsurTech และเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วน ได้มาร่วมแชร์ไอเดีย และต่อยอดองค์ความรู้ ด้านเทคโนโลยี ไปสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัยได้แบบไม่มีที่สิ้นสุด หลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรม Boot Camp แล้ว จะมีการจัดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอผลงาน และคณะกรรมการฯ ทำการคัดเลือกผลงานที่มีประโยชน์และสามารถต่อยอดในอุตสาหกรรมได้ เพื่อเข้าร่วมการประกวด OIC InsurTech Award ในรอบชิงชนะเลิศ |
OIC InsurTech Award 2023
|
กิจกรรมการประกวดและประกาศรางวัลนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการประกันภัย (OIC InsurTech Award) ในปี 2565 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “AWAKEN THE NEW POWER OF INSURANCE - พลิกโฉมประกันภัยไร้ขีดจำกัด” โดยมีโจททย์การแข่งขัน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
1.นวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อการประกันสุขภาพ สำหรับประชากรและสังคมยุคใหม่ 2.พลิกโฉมการเสนอขาย และเปิดโอกาสใหม่ของประกันภัยบน Metaverse 3.เพิ่มประสิทธิภาพการประเมินภัย ยกระดับความความพึงพอใจของลูกค้า ด้วยเทคโนโลยี AI ทั้งนี้ การประกวดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทนิสิต/นักศึกษา และประเภทบุคคลทั่วไป โดยผู้สมัครจะต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากหลายหลายวงการ จนเหลือเพียงผู้ชนะเพียงทีมเดียวในแต่ละประเภท |
ประเภทบุคคลทั่วไปเสนอไอเดียการจัดทำ Platform สำหรับเชื่อมต่อ คลินิกแพทย์เอกชน ที่มีระบบการควบคุมต้นทุนค่ารักษา ปริมาณยาที่จ่าย (dosage) และมาตรฐานคิดค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงระบบตรวจจับการฉ้อฉล ซึ่งจะช่วยให้บริษัทประกันภัยสามารถออกผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพที่คุ้มครองด้านการเข้ารักษาที่คลินิคฯ ได้ง่ายขึ้น และส่งผลให้ได้เบี้ยประกันราคาไม่แพง เหมาะสำหรับผู้มีรายได้น้อย หรือ ผู้ที่มีสวัสดิการพื้นฐานอยู่แล้ว สามารถเข้าถึงและเลือกใช้การประกันสุขภาพเพิ่มเติมได้ง่ายขึ้น
นำเสนออุปกรณ์ที่พร้อมใช้งาน สามารถตรวจจับการล้มด้วยคลื่นเสียง เพื่อแจ้งเตือนเมื่อผู้สูงอายุในบ้าน เกิดเหตุล้มหรือต้องการความช่วยเหลือ และไม่มีผู้อื่นอยู่ใกล้ๆ โดยอุปกรณ์จะตรวจจับการล้ม หรือ การตีฝ่ามือกับพื้นเพื่อส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ ทำให้ผู้ช่วยเหลือ เช่น หน่วยกู้ภัย หรือ โรงพยาบาล สามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้เร็วขึ้น ลดการสูญเสีย และค่าสินไหมได้อย่างมีนัยสำคัญนัยสำคัญ
นำเสนอ Application ที่พร้อมใช้งาน ที่สามารถ OCR Scan หน้ากรมธรรม์แล้วคัดกรองข้อมูลสำคัญขึ้นมา เพื่อรวบรวมและจัดทำสรุปความคุ้มครองในด้านต่างๆ เพื่อแนะนำแบบประกันภัยที่ลูกค้ายังไม่มีความคุ้มครอง เน้นการลดระยะเวลาประมวลผลของที่ปรึกษาการประกันภัย (Advisor) จากปกติ 4-20 ชม. ให้เหลือเพียง 20 นาที
นำเสนอ Platform ที่พร้อมใช้งาน เพื่อการให้บริการประกันภัยในรูปแบบ Parametric ด้วย SmartContract เพื่อชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแบบอัตโนมัติ หากการขนส่งสินค้าเกิดการล่าช้า (Cargo Insurance) โดยนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ไม่ว่าจะเป็น Blockchain และ AI เป็นต้น
ผู้ให้บริการ Platform ที่พร้อมให้บริการเชื่อมต่อบริษัท surveyor ไว้ เพื่อให้บริษัทประกันมีทางเลือกมากขึ้น และสามารถจ่ายงานให้เซอร์เวย์เยอร์ ที่ใกล้จุดเกิดเหตุมากที่สุด และใช้ AI เพื่อคำนวณและช่วยหาเซอร์เวย์เยอร์ที่ใกล้และเหมาะสมกับงานนั้นๆ รวมถึงเสนอการต่อยอดให้ลูกค้าทำการเคลมผ่าน teleclaim แบบบริการตนเองอีกด้วย
|
ประเภทนิสิต นักศึกษาเสนอไอเดียการจัดทำ จากแนวโน้มที่มีผู้ป่วยทางจิตเวชเพิ่มขึ้น และผู้ป่วยบางรายมีความกังวลกับการพูดคุยต่อหน้ากับนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ จึงได้คิดค้น Application สำหรับผู้ป่วยทางจิตเวช สามารถพบนักนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ทางออนไลน์ เพื่อทำการวินิจฉัยประเมินวัดความเสี่ยง และคำนวณเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมโดยใช้เทคโนโลยี AI
เสนอไอเดียการจัดทำ Application ที่จะเป็นผู้ช่วยในการบริหารความเสี่ยงและบริการด้านสุขภาพระยะยาวให้กับผู้เอาประกัน รวมถึงช่วยให้บริษัทประกันภัยติดตามข้อมูลสุขภาพของผู้เอาประกันภัยเพื่อนำข้อมูลไปคำนวณเบี้ยประกันที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละบุคคล โดยใช้เทคโนโลยี Big Data ในการรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลนั้นมาประมวลผล เพื่อคำนวณเบี้ยที่เหมาะสมตามความเสี่ยงจริงของผู้เอาประกันด้วยเทคโนโลยี AI
เสนอไอเดียการจัดทำ บริการ Community บน Metaverse สำหรับผู้สูงอายุที่ทำประกันภัยสุขภาพ เช่น มีห้องออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ มีร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ที่จะสามารถสั่งอาหารบนโลก Metaverse แล้วอาหารจะไปส่งในโลกจริงได้ มีแพทย์ที่คอยติดตามอาการ มีนักจิตวิทยาคอยพูดคุยและเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้สูงอายุ พร้อมทั้งยังมีเคาน์เตอร์ประกันภัยให้สอบถามข้อมูลและบริการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย
เสนอไอเดียการจัดทำ Application สำหรับ Surveyor ที่จะช่วยเพิ่มความรวดเร็วและความแม่นยำในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการบริการที่ดียิ่งขึ้น ด้วยการทำเทคโนโลยี AI ไม่ว่าจะเป็น Machine Learning, Voice Analytic, 3D Scanning from video, และ Image to 3D model มาช่วยในการเก็บข้อมูลทั้งสภาพที่เกิดเหตุสภาพรถ การบันทึกรายละเอียดการเกิดเหตุ และการประเมินความเสียหาย
เสนอไอเดียการจัดทำ Application ที่ลูกค้าสามารถทำการเคลมได้ด้วยตนเอง (Self Claim) ทั้งเคลมสดและเคลมแห้ง โดยการนำเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) มาผสานกับการประเมินภัย ด้วยการสแกนสถานที่เกิดเหตุ รถของตัวเอง และรถของคู่กรณี ผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อจำลองสถานที่เกิดเหตุ และความเสียหายของรถทั้งสองฝ่ายบนโลกเสมือน ไม่ต้องส่ง Surveyor เข้าไปสำรวจภัย ประกันของทั้งสองฝ่ายสามารถติดต่อ พูดคุยความรับผิด และค่าเสียหาย ได้ในโลกเสมือน เมื่อประกันประเมินความเสียหายเรียบร้อยแล้ว จึงแจ้งให้ลูกค้าทราบผ่านทาง SMS และแอปพลิเคชัน
|