CIT Academy 2023โครงการ CIT Academy มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีการประกันภัย การสร้างนวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมประกันภัย รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายสมาชิกของ
ศูนย์ CIT ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนิสิต/นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา บุคคลทั่วไป บุคลากรในวงการประกันภัย รวมถึง Tech Firm ตลอดจน Startup ต่างๆ |
กิจกรรมภายในโครงการ
CIT InsurTech Roadshow
|
CIT InsurTech Roadshow เป็นกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ด้านประกันภัย และความรู้ด้านการนำเทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการต่างๆ ใน Insurance Value Chain โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน นิสิต/นักศึกษา บุคลากรในวงการประกันภัย บุคลากรในบริษัทเทคโนโลยี (Tech Firm) กลุ่มนักพัฒนาเทคโนโลยี (Tech Startup) และประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจด้านเทคโนโลยีการประกันภัย นอกจากนี้ กิจกรรมยังประกอบไปด้วยการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อแนะนำศูนย์ CIT (Center of InsurTech, Thailand) และเชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมาย เกิดความสนใจและสมัครเข้าร่วมการประกวดชิงรางวัลนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการประกันภัย (OIC InsurTech Award) |
InsurTech Bootcamp
กิจกรรม InsurTech Bootcamp เป็นการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในลักษณะ Activities-Based Learning เพื่อให้ผู้ที่สมัครเข้าร่วมการประกวด OIC InsurTech Award ซึ่งผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการฯ ได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาพัฒนาต่อยอดกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย นอกจากนี้ ภายในงานสัมมนายังมีกิจกรรม Intensive Coaching จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้คำปรึกษาแบบใกล้ชิด เพื่อพัฒนาผลงานให้ตอบโจทย์ และกิจกรรม Online Bootcamp Courses ที่เปิดโอกาสให้ทีมผู้สมัครได้เรียนหลักสูตรออนไลน์ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้นอกจากจะช่วยบ่มเพาะทักษะการพัฒนานวัตกรรมแล้ว ยังช่วยให้เกิดการกระจายองค์ความรู้ด้าน InsurTech และเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วน ได้มาร่วมแชร์ไอเดีย และต่อยอดองค์ความรู้ ด้านเทคโนโลยี ไปสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัยได้แบบไม่มีที่สิ้นสุด หลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรม Boot Camp แล้ว จะมีการจัดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอผลงาน และคณะกรรมการฯ ทำการคัดเลือกผลงานที่มีประโยชน์และสามารถต่อยอดในอุตสาหกรรมได้ เพื่อเข้าร่วมการประกวด OIC InsurTech Award ในรอบชิงชนะเลิศ |
OIC InsurTech Award 2023
กิจกรรมการประกวดและประกาศรางวัลนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการประกันภัย (OIC InsurTech Award) ในปี 2566 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ASCENDING TO THE INSURTECH UNIVERSE : ทะยานสู่จักรวาลโลกแห่งประกันภัย” โดยมีโจททย์การแข่งขัน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
1.สร้างโอกาสใหม่ แห่งการประกันภัย เพื่อคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ อย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยี 2.นวัตกรรมใหม่ เพื่ออุตสาหกรรมประกันภัยที่ยั่งยืน ด้วยเทคโนโลยี AI และความก้าวล้ำทางดิจิทัล 3.พลิกโฉมโลกประกันภัย ด้วยการใช้ข้อมูล ยกระดับการบริการหลังการขายเพิ่มประสิทธิภาพแบบยั่งยืน ทั้งนี้ การประกวดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทนิสิต/นักศึกษา และประเภทบุคคลทั่วไป โดยผู้สมัครจะต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากหลายหลายวงการ จนเหลือเพียงผู้ชนะเพียงทีมเดียวในแต่ละประเภท |
ประเภทบุคคลทั่วไป“ทำกายภาพบำบัดได้ทุกที่ สุขภาพกล้ามเนื้อดีอย่างยั่งยืน ผู้ใช้งาน Healthy ประกันฯ Happy”
แพลตฟอร์มแก้ไขปัญหาออฟฟิศซินโดรม ที่มีการเก็บข้อมูล พฤติกรรมของแต่ละบุคคลที่ค่อนข้างละเอียด ทำให้บริษัทประกันภัยสามารถนำมาใช้เพื่อลดต้นทุนค่ารักษาพยาบาล หรือนำไปลดเบี้ยประกันภัยของลูกค้าในรอบถัดไปได้ “ไม่มีใครเข้าใจปัญหาและตอบโต้เหตุฉุกเฉิน อย่างมืออาชีพได้ดีเท่ากับนักดับเพลิงอย่างเรา”
การเพิ่มขีดความสามารถในการแจ้งเตือนหรือการบรรเทา กรณีเกิดความผิดปกติของอุปกรณ์ภายในรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยการนำเทคโนโลยี IoT และเทคโนโลยีอื่นๆ เข้ามาช่วย พร้อมการแจ้งเตือนผ่าน Application เพื่อลดความสูญเสียของการจ่ายค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งยังสร้างโอกาสให้ตลาดประกันภัยของรถยนต์ไฟฟ้า มีเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมมากขึ้น “Mednu รู้เมนูค่ารักษา ขอส่วนลดก่อนใช้บริการ”
แพลตฟอร์มที่แนะนำโรงพยาบาลหรือสถานรักษา ตามความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่มี ของแต่ละกรมธรรม์ประกันภัยของผู้เอาประกันภัย ด้วยการนำเทคโนโลยี BigData , Machine Learning และ AI มาสนับสนุนการประมวลผลข้อมูล เพื่อลดโอกาสที่จะมีส่วนต่างที่กรมธรรม์ไม่คุ้มครองลง “Agriguardian, From Complexity to Simplicity”
แอปพลิเคชันที่ช่วยให้บริษัทประกันภัยจัดการความเสี่ยงด้านการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการคำนวณเบี้ยประกันให้กับลูกค้าอย่างเหมาะสม ด้วยการการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและเทคโนโลยี AI “CrackHi-AI แตก หาย จ่าย จบ”
การนำเทคโนโลยี AI และ Blockchain มาใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ความเสียหายของ โทรศัพท์มือถือ เพื่อให้เกิดความถูกต้องและแม่นยำตั้งแต่การขอซื้อประกัน และในจังหวะการขอเคลมประกันภัย “ที่จัดเก็บเอกสาร Electronic ที่สำคัญและมีความปลอดภัยสูง”
คลาวด์เทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการจัดส่ง e-policy ด้วยการนำ Blockchain Platform มาช่วยในกระบวนการจัดเก็บเอกสาร และมีการใช้ Smart Contract ควบคุมอายุของเอกสารที่จัดเก็บ |
ประเภทนิสิต นักศึกษา“การันTREE ตั้งต้นได้ เมื่อภัยมา”
Application ให้บริการประกันภัยจากธรรมชาติแก่ต้นไม้ ให้เกษตรกร โดยอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรไม่ต้องชำระเบี้ยประกันภัย ซึ่ง Application จะช่วยในการประเมินปริมาณ Carbon Credit จากต้นไม้ของเกษตรกร และเชื่อมโยงไปยังตลาดกลางซื้อขาย Carbon Credit เพื่อรับรายได้มาจ่ายค่าประกันภัย ทำให้มีความคุ้มครองเพิ่มขึ้น “Beautifique Insurance รันวงการประกันใหม่ เพื่ออินฟลูเอนเซอร์”
ประกันรูปแบบใหม่ ที่ผสานกับเทคโนโลยีวิเคราะห์ปัญหาผิวหน้าแต่ละบุคคลเพื่อจะได้แก้ปัญหาได้ตรงจุด โดยการจัด skincare routine ให้กับผู้เอาประกันภัย จะได้รับค่าสินไหมทดแทน เมื่อมีการดูแลใบหน้าตามที่แนะนำแต่พบปัญหาผิวหน้าแย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ “Lock Speed, Safe Speed, Save Cost, Safe Life”
Application สำหรับการติดตามพฤติกรรมการขับรถเชิงลึก พร้อมฟังก์ชั่นการบริการด้านการประกันภัย เช่น เลือกซื้อประกันภัย ต่ออายุประกันภัย เป็นต้น ด้วยการนำเทคโนโลยี IoT และ Machine Learning เข้ามาใช้ตรวจจับพฤติกรรมการขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจจับการขับส่ายไปมา โดยใช้ Accelerometer sensor และตรวจจับโดยติดตั้งกล้องร่วมกับระบบ AI Video Processing และสื่อสารผ่านทาง 5G รวมไปถึงการตรวจสอบสภาพรถยนต์ “Siri มงคล สาธุ 99”
ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เพื่อบุตรสำเร็จการศึกษา เพิ่มทุนประกันภัยผ่านการออมของบุตรได้ทุกเดือน ซึ่งจะสร้างประสบการณ์การออมในครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น ผ่าน Application เพื่อสร้างเป้าหมาย และทักษะทางการเงินที่ดีให้ผู้ใช้งาน โดยทำงานร่วมกับ AI และอำนวยความสะดวกด้านการเงินแบบ One stop service “ลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกร และเพิ่มโอกาสทำกำไรให้กับบริษัทประกันไปกับ Harvest Moon”
การนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านการเกษตร สามารถช่วยให้บริษัทประกันภัยสามารถคำนวณความเสี่ยงได้แม่นยำขึ้น และคำนวณเบี้ยประกันได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเปิดโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันภัยได้มากขึ้น |